องค์ความรู้นวัตกรรม

ชื่อนวัตกรรม

5 ส. สร้างชุมชนเข้มแข็งยั่งยืน

ชื่อเจ้าของผลงาน

อสม.

ธนพร

อิษฎานนท์

สาขาที่ประกวด

สาขาการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน

ประเภท

นวัตกรรมการบริการ (Service Innovation)

จังหวัด

ปทุมธานี

อสม.ดีเด่นระดับ

อสม.ดีเด่นระดับ ชาติ

Loading

ผลงาน อสม. ดีเด่นระดับชาติ ประจำปีงบประมาณ 2566 “กว่าต้นไม้จะเติบโต…กว่าจะเป็น อสม. ดีเด่นระดับชาติ”

5 ส. สร้างชุมชนเข้มแข็งยั่งยืนแบบบูรณาการ

กิตติพงศ์ ศุภสิริธนรักษ์

ฮานีฟะฮ์ เจะอารง

ขอแสดงความยินดีกับ อสม. ธนพร อิษฎานนท์ ผู้ได้รับรางวัล อสม. ดีเด่นระดับชาติ พ.ศ. 2566 สาขาการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน โดยได้นำพระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 “การทำดีนั้นทำยากและเห็นผลช้า แต่ก็จำเป็นต้องทำ เพราะหาไม่ ความชั่วซึ่งทำได้ง่าย จะเข้ามาแทนที่ และจะพอกพูนขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยไม่ทันรู้สึกตัว แต่ละคนจึงต้องตั้งใจ และเพียรพยายามให้สุดกำลัง ในการสร้างเสริมและสะสมความดี” นั้น มาประยุกต์ใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่าย ก่อเกิดเป็นนวัตกรรม “5 ส. สร้างชุมชนเข้มแข็งยั่งยืน” ขึ้น ซึ่งเป็นกระบวนการบริหารจัดการอันประกอบด้วย

5 ส.

  • ส.1 สร้างเครือข่าย
  • ส.2 สร้างความรัก/สามัคคี
  • ส.3 สร้างครัวเรือน/ชุมชนสีขาว
  • ส.4 สร้างชุมชน เอื้ออาทร
  • ส.4 สร้างภูมิพลังแผ่นดิน
  • ส.1 สร้างเครือข่าย ผู้ นำทำดีชุมชนทำตาม กลุ่มผู้นำชุมชนต้องเป็นแบบอย่างให้กับประชาชน
  • ส.2 สร้างความรักความสามัคคี ในชุมชน ชุมชนเข้าใจ เปิดใจยอมรับ ไม่ตีตรา กระบวนการบำบัดโดยชุมชนเป็นฐาน (CBTx)
  • ส.3 สร้างครัวเรือนและชุมชนสีขาว สัญลักษณ์แสดงการไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ผ่านบัตรบุคคลสีขาว ธงครัวเรือนสีขาว ป้ายคุ้มสีขาวปลอดยาเสพติด และป้ายชุมชนสีขาวปลอดยาเสพติด
  • ส.4 สร้างชุมชนเอื้ออาทร ช่วยเหลือทางสังคม เช่น ดูแลสุขภาพ ให้โอกาสทั้งด้านการศึกษา การประกอบอาชีพ เป็นต้น
  • ส.5 สร้างภูมิพลังแผ่นดิน ต่อต้านยาเสพติด

อสม. ธนพร อิษฎานนท์ ปฏิบัติงาน ณ บ้านคลองคูกลาง หมู่ที่ 1 ตำบลหลักหก อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี สังกัดโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) หลักหก 2 ตั้งแต่ พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา นอกจากนี้ ยังมีบทบาททางสังคมในตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านคลองคูกลาง ประธานกองทุนแม่ของแผ่นดินบ้านคลอง คูกลาง รองประธานเครือข่ายกองทุนแม่ของแผ่นดินอำเภอเมืองปทุมธานี และรองประธานชุมชนยั่งยืนแก้ปัญหายาเสพติดแบบครบวงจร

จากที่มองเห็นปัญหาและผลกระทบจากยาเสพติดที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในชุมชน จึงอยากให้ปัญหานี้หมดสิ้นไป เพื่อความสงบสุขของชุมชน โดยส่วนตัว อสม. ธนพร มีครอบครัว ที่อบอุ่น ฐานะพอมีพอใช้ ไม่มีภาระงานที่หนักหน่วง ประกอบกับสมาชิกในครอบครัวยินดีและสนับสนุนในการทำหน้าที่ อสม. อย่างเต็มที่ ที่มาโดยตลอด จึงเป็นแรงผลักดันให้ลุกขึ้นสร้างคุณประโยชน์ เพื่อชุมชนจนประสบผลสำเร็จในที่สุด

บ้านคลองคูกลาง เป็นสังคมเมืองกึ่งชนบท เป็นที่ตั้งบ้านเรือนและห้องเช่าขนาดเล็ก ประกอบกิจการขนาดเล็กภายในครัวเรือน มีความหนาแน่นของประชากรปานกลาง แต่มีประชากรแสนจรข้ามพื้นที่อยู่ตลอดเวลา ภายหลังการระบาดของโรคโควิด 19 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจเกิดปัญหาคนว่างงานเป็นจำนวนมาก ประกอบกับข้อมูลยืนยันจากสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภาค 1 พบว่า บ้านคลองคูกลาง มีการแพร่ระบาดของยาเสพติดทุก จนเป็นพื้นที่ระดับสีแดง เนื่องจากมีพื้นที่ติดต่อกับ เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร เป็นเส้นทางผ่านของยาเสพติด เอื้อโอกาสให้สามารถสร้างรายได้แก่ผู้ค้ารายย่อยและผู้เสพเข้าถึงยาเสพติดได้ง่าย จึงทำให้เกิดปัญหายาเสพติดในชุมชน ภายหลังการประชุมประชาคมหมู่บ้านมีมติให้ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาอันดับ 1 ที่ต้องการแก้ไข อสม. ธนพร จึงเป็นแกนนำ ประสานหน่วยงาน รพ.สต. หลักหก 2 สถานีตำรวจภูธรปากคลองรังสิต มหาวิทยาลัยรังสิต เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองอำเภอเมืองปทุมธานี กำนัน ผู้ใหญ่บ้านตำบลหลักหก คณะกรรมการกองทุนแม่ของแผ่นดินหมู่ที่ 1 เพื่อน ๆ อสม. และประชาชน มาร่วมกันจัดทำโครงการสร้างชุมชนเข้มแข็งยั่งยืน เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน ให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนแม่ของแผ่นดินบ้านคลองคูกลาง

กระบวนการขับเคลื่อนโครงการสร้างชุมชนเข้มแข็งยั่งยืน เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนบ้านคลองคูกลาง ประกอบด้วยการใช้นวัตกรรม “5 ส. สร้างชุมชนเข้มแข็งยั่งยืน” ร่วมกับหลักการลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติด (Harm reduction) และการวางระบบดูแลผู้ป่วยยาเสพติดจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง (SMI-V) โดยเริ่มจากการพัฒนาศักยภาพ อสม. ผ่านการอบรมกลไกการดูแลช่วยเหลือผู้เสพผู้ติดและผู้มีอาการทางจิตจากการใช้สารเสพติดในระดับพื้นที่ โดยสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดภาพ 1 กระบวนการต่อมาคือการออกปฏิบัติงานเชิงรุกให้ความรู้ และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับยาเสพติดและลงสำรวจพื้นที่คัดกรองประชากรกลุ่มเป้าหมาย 278 คน (100%) พบผู้เสพ 17 คน พร้อมทั้งทำข้อตกลงกับครัวเรือน จำนวน 123 ครัวเรือน (100%) กระบวนการที่สามคือสร้างความเข้าใจในชุมชน มองผู้เสพ = ผู้ป่วย ไม่ตีตรา จึงมีการจัดทำแผนนำผู้เสพเข้าสู่กระบวนการบำบัดโดยชุมชนเป็นฐาน (CBTx) อย่างสมัครใจ จำนวน 9 ครั้ง ในระยะเวลา 3 เดือน เป็นการดูแลผู้ป่วยใช้สารเสพติดให้เกิดการบำบัดฟื้นฟูใกล้บ้านหรือภายในชุมชนอย่างต่อเนื่อง เสริมสร้างทักษะความฉลาดทางอารมณ์ผ่านกิจกรรมสำคัญ ได้แก่

  • ทบทวนจิต ให้เกิดความตระหนักในการมีสติรับรู้ความเป็นจริงของชีวิต การแสวงหาความหมายของชีวิต และรู้เท่าทันอารมณ์ความต้องการของตัวเอง ด้วยกิจกรรมสำรวจตัวเอง ประโยชน์ของการรู้จักตนเองแล้วนำเสนอ
  • คิดจัดการ ให้ผู้ป่วยใช้สารเสพติดสามารถควบคุมตัวเอง ให้อยู่ในสภาวะปกติ ด้วยกิจกรรมแบ่งกลุ่มสะท้อนความคิด
  • สานเป้าหมาย ปลุกเร้าให้มีการกำหนดเป้าหมายในการบำบัดฟื้นฟูมีความยืดหยุ่น มุ่งมั่น มีความหวังในเป้าหมาย และให้กำลังใจข้อคิด ความล้มเหลว คือ ประสบการณ์ด้วยกิจกรรมแบ่งกลุ่มสะท้อนความคิด
  • สายใยรัก ทำให้ผู้ป่วยใช้สารเสพติดสามารถรับรู้อารมณ์และความรู้สึกของผู้อื่นได้อย่างถูกต้อง เข้าใจความแตกต่างของผู้อื่น สร้างความอบอุ่นในครอบครัวและสังคม ด้วยกิจกรรมนั่งคุยเปิดใจกันภายในครอบครัว กอดสร้างความรักความอบอุ่นทางใจ
  • ทักสังคม ให้เกิดการยอมรับในความเป็นธรรมชาติของผู้อื่น สามารถปรับตัวเองให้เข้ากับสังคมรอบข้างได้ มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี ด้วยกิจกรรมรวมกลุ่มสันทนาการ เช่น ดนตรีบำบัด กีฬาบำบัด ร่วมรับประทานอาหาร เยี่ยมบ้านให้กำลังใจ เป็นต้น

ผลลัพธ์ของโครงการ สร้างชุมชนเข้มแข็งยั่งยืน

เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนบ้านคลองคูกลาง คือ ค้นหาผู้ใช้สารเสพติดได้ 17 คน และได้รับการบำบัดครบ 17 คน ผู้ป่วยติดยาเสพติดลดละเลิกยาเสพติดได้ ผู้ป่วยติดยาเสพติดมีอาชีพ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และบ้านคลองคูกลาง เป็นชุมชนต้นแบบ SMI-V ของจังหวัดปทุมธานี ปัจจุบันอยู่ระหว่างการขยายผลให้กับชุมชนใกล้เคียง

หากจะถามถึงปัญหาอุปสรรคของการดำเนินงานนี้ คงจะเป็นการทำงานในชุมชนเมืองกึ่งชนบท การสื่อสารการเข้าถึงประชาชนไม่ง่ายเหมือนเขตชนบท และเป็นพื้นที่ติดเขต กทม. มีประชาชนข้ามพื้นที่จำนวนมากและตลอดเวลา จึงทำให้ชุมชนต้องคอยเฝ้าระวังและเตรียมพร้อมอย่างต่อเนื่องเช่นกัน และการสนับสนุนรถในการรับ – ส่งผู้ป่วยติดยาเสพติดจิตเวชกรณีที่ก่อความรุนแรงได้ทันที ถึงอย่างไรก็ตามตลอดการเดินทางบนถนนจิตอาสาของ อสม. ธนพร ย่อมไม่ได้มีแต่ขวากหนาม ในทางกลับกันยังมีดอกไม้ที่สวยงามเบ่งบานตลอดระยะทางเช่นกัน ความสวยงามนั้นคือ การได้เห็นผู้ป่วยติดยาเสพติดลดละเลิกได้สำเร็จมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ชุมชนเข้มแข็ง มีกระบวนการจัดการตนเองได้ ก็นับว่าเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้เกิด แรงสู้ฝ่าพันอุปสรรคทำงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด มาจวบจนปัจจุบัน

นวัตกรรม ล่าสุด

นวัตกรรม “ชุมชนน่าอยู่ คนสุขภาพดี ด้วยวิถีเทศบาล 3”
อสม.
นฤมล
สมหวัง
สาขาที่ประกวด
สาขาการส่งเสริมสุขภาพ

จังหวัด 

ยโสธร
อสม.ดีเด่นระดับ ภาค
ปฏิทินเตือนใจกินยาครบ
อสม.
อนงค์รักษ์
บุญส่ง
สาขาที่ประกวด
สาขาการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ

จังหวัด 

พังงา
อสม.ดีเด่นระดับ ชาติ
“ชุมชนน่าอยู่ คนสุขภาพดี ด้วยวิถีเทศบาล 3”
อสม.
นฤมล
สมหวัง
สาขาที่ประกวด
สาขาการส่งเสริมสุขภาพ

จังหวัด 

ยโสธร
อสม.ดีเด่นระดับ ภาค
หนองนาคำ โมเดล
นาง
บัวลำพอง
โสมะโสก
สาขาที่ประกวด
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน

จังหวัด 

ขอนแก่น
อสม.ดีเด่นระดับ เขต
กลุ่ม M HUG วัคซีนใจ
นาย
พรหมพร
พิมสอน
สาขาที่ประกวด
สาขาการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ในชุมชน

จังหวัด 

มหาสารคาม
อสม.ดีเด่นระดับ ภาค