องค์ความรู้นวัตกรรม

ชื่อนวัตกรรม

วงล้อเสริมสุข - พิพิธภัณฑ์คนต้นแบบ – โคกหนองนาพาเพลิน

ชื่อเจ้าของผลงาน

อสม.

พูน

เมินกระโทก

สาขาที่ประกวด

สาขาสุขภาพจิตชุมชน

ประเภท

นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (Product Innovation)

จังหวัด

นครราชสีมา

อสม.ดีเด่นระดับ

อสม.ดีเด่นระดับ เขต

Loading

อาสาสมัครสาธารณสุขดีเด่น จังหวัดนครราชสีมา

สาขา สุขภาพจิตชุมชน

นายพูน เมินกระโทก

บ้านหนองไผ่พัฒนา หมู่ 9 ตำบลท่าอ่าง อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา

รพ.สต.ท่าอ่าง

เกิดวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2494 อายุ 72 ปี

สถานภาพ สมรส มีบุตรธิดา 2 คน หลาน 3 คน

การศึกษา ป.ตรี ศึกษาศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ความรู้พิเศษ จบนักธรรมเอก

คติพจน์การทำงาน พูดจริง ทำจริง ทำให้ถูกดี ทำให้ถึงดี ทำให้พอดี

ประวัติส่วนตัว

  • เป็น ผสส. และเป็น อสม. เมื่อ ปี พ.ศ. 2532 รวมทำงาน อสม. – ปัจจุบันเป็นเวลา 34 ปี
  • เป็นคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน
  • เป็นวิทยากรให้ความรู้คณะกรรมการคู่หูคู่คิด กขคจ.
  • เป็นประธานเครือข่าย โคกหนองนา โมเดล อ.โชคชัย

บทบาทหน้าที่

ผ่านการอบรมหลักสูตร

  • ปี 2562 อสม.หมอประจำบ้าน
  • ปี 2563 ผู้นำต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต โคกหนองนา โมเดล
  • ปี 2565 ผู้ดูแลผู้สูงอายุ
  • ปี 2565 การขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิด ด้วยเศรษฐกิจ BCG
  • ปี 2566 การดูแลผู้ป่วยระยะท้าย
  • ปี 2566 การเฝ้าระวัง ป้องกัน แก้ปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช

คู่มือเฝ้าระวัง ป้องกัน แก้ไขปัญหา สุขภาพจิต –จิตเวช อสม.ได้รับแจก/ เป็นคู่มือในการทำงาน

การครองตน

  • ใช้หลัก 3ร. (รู้จักดูแลสุขภาพตนเอง รู้กฎหมาย รู้ธรรม ) ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ ตรวจสุขภาพประจำปีเป็นแบบอย่างที่ดี
  • ดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
  • พัฒนาตนเอง ใส่ใจหาความรู้อยู่เสมอ
  • มีความภาคภูมิใจในการเป็น อสม. และภรรยา เป็น อสม.
  • สิ่งที่ภาคภูมิใจสูงสุด ได้รับคัดเลือกให้เป็นพ่อตัวอย่างแห่งชาติ พ.ศ. 2564 ภรรยา :แม่ดีเด่นจังหวัดนครราชสีมา ปี 2562

การครองคน

  • ใช้หลักธรรม สังคหวัตถุ 4 (ทาน ,ปิยวาจา ,อัตถจริยา ,สมานัตตา)
  • ทำงานเน้นเป็นทีมงาน อาศัยความร่วมมือจากภาคี เครือข่าย
  • เป็นแกนนำ อสม จัดกิจกรรม ทำโครงการต่างๆ
  • เป็นประชาสัมพันธ์ออกหอกระจายข่าว พิธีกรในงานต่างๆ ในชุมชน
  • ให้บริการแก่ประชาชน ผู้มาติดต่องานด้วยความเป็นธรรม
  • ให้ชุมชนมีส่วนร่วม ยอมรับและสนับสนุนในการทำงาน
  • ด้านประชาธิปไตยไปใช้สิทธิเลือกตั้งทุกครั้ง

ได้รับความไว้วางใจจากผู้นำชุมชน ให้ทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ในหมู่บ้าน บ้านมีหอกระจายข่าว พิธีกรงานฌาปนกิจ (ไม่รับค่าตัว) พิธีกรงานบุญ ร่วมจัดรายการวิทยุเศรษฐกิจพอเพียง

ร่วมช่วยเหลือ แก้ไขปัญหาความยากจน สร้างบ้านที่อยู่อาศัย บริจาคครัวเรือนยากจน เพื่อให้มีที่อยู่อาศัย มีสุขภาพจิตที่ดี

การครองงาน

  • ใช้หลักอิทธิบาท 4 (ฉันทะ ,วิริยะ ,จิตตะ ,วิมังสา)
  • ร่วมจัดทำแผนสุขภาพชุมชน
  • ได้ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้ชุมชน
  • มีทักษะในการพัฒนาชุมชน
  • ของบประมาณท้องถิ่นจัดทำโครงการ

แรงบันดาลใจในการทำงานสาขาสุขภาพจิตชุมชน

  • ช่วงการเกิดโรคระบาด โควิด ในหมู่บ้าน มีผู้เสียชีวิต 1 ราย พบความเสี่ยงปัญหา ด้านสุขภาพจิต ( จิตแพทย์ห่วงช่วงโควิต 19 คนไทยฆ่าตัวตายพุ่ง เทียบเท่าวิกฤตต้มยำกุ้ง )
  • ในเขต ต.ท่าอ่าง ปี 2566
    • มีฆ่าตัวตายสำเร็จ ใน 2 ราย
    • ผู้พยายามฆ่าตัวตาย 9 ราย

มีคนไทยพยายามฆ่าตัวตาย ชม.ละ 6 คน ทั้งปี มากกว่า 5,300 คน ในจำนวนนี้ เสียชีวิต 4,000 คน (ข้อมูลกรมสุขภาพจิต ปี2564 )

สาเหตุการฆ่าตัวตายในตำบลท่าอ่าง เป็นผู้สูงอายุไม่มีผู้ดูแล ครอบครัวไม่อบอุ่น ,พ่อแม่หย่าร้าง ปัญหาเศรษฐกิจ ป่วยเป็นโรคทางจิตเป็นโรคซึมเศร้า

ข้อมูลทั่วไป บ้านหนองไผ่พัฒนา หมู่ 9

ที่ตั้ง : ห่างจากอำเภอ 8 กม. ห่างตัวจังหวัด 30 กม. ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ค้าขายหินทราย จำนวน 192 หลังคาเรือน ประชากร ทั้งหมด 832 คน ชาย 394 คน หญิง 438 คน วัยเด็กอายุ 0-5 ปี 39 คน วัยเรียน 71 คน วัยรุ่น 74 คน วัยทำงาน 500 คน ผู้สูงอายุ 148 คน ผู้พิการ 6 คน ร้านค้า 6 ร้าน จำนวน อสม. 18 คน

ข้อมูลด้านสุขภาพ บ้านหนองไผ่พัฒนา

โรค จำนวน ความดันโลหิตสูง 39 คน โรคเบาหวาน 23 คน ผู้ป่วยติดเตียง 5 คน ผู้ป่วยจิตเวช 4 คน ผู้พิการ 6 คน หญิงตั้งครรภ์ 1 คน

อสม. ทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย ผู้ใหญ่ ผู้ช่วย/ส.อบต. /รพ.สต. /สสอ. / รพ.โชคชัย /สภ.อ. / หน่วยกู้ภัย

งานสุขภาพจิตชุมชน การคัดกรองโรคซึมเศร้าในชุมชน แบบคัดกรองโรคซึมเศร้า 2Q

จุดมุ่งหมายการทำงานสุขภาพจิตชุมชน

เพื่อป้องกันและช่วยเหลือให้ผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช ให้กลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ อย่างปกติ อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ลดจำนวนผู้ป่วยจิตเวชรายใหม่ได้ ลดปัญหากำรฆ่าตัวตายในกลุ่มวัยทำงาน ช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจำกเหตุการณ์รุนแรง ป้องกันและลดจำนวน ผู้ป่วยภาวะซึมเศร้า ส่งเสริมดูและสภาพจิตใจของผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้พิการ ผู้ป่วย ภาวะวิกฤตให้กลับมาเป็นปกติสุข

สำนวนไทย

คนโบราณให้ความสำคัญกับสุขภาพจิต จึงมีคำว่า คบที่อยู่ได้ คบใจอยู่ยาก ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว คนทุกข์ย่อมเศร้า คนเหงาย่อมเครียด … วงล้อเสริมสุข ช่วยท่านได้

ขอบคุณครับ

อสม.พูน เมินกระโทก

อาสาสมัครสาธารณสุขดีเด่น จังหวัดนครราชสีมา สาขาสุขภาพจิตชุมชน

ภาคผนวก

  • ขั้นตอนการใช้วงล้อเสริมสุข เรียนรู้สู้เครียด

ภาพ ที่จับหมุน แบบคัดกรองโรคซึมเศร้า 2Q QR Code เช็คสภาพใจ วงล้อที่ 1 สัญญาณเตือนอันตรายทางสุขภาพจิต 5 ธงแดง

  • ขั้นตอนการใช้วงล้อเสริมสุข เรียนรู้สู้เครียด

วงล้อที่ 2 9 วิธีแก้เครียดอย่างง่ายที่สุดในโลก ที่จับหมุน ภาพ”

สรุปผลการดำเนินงาน
❖ ปี 2564 พบผู้มีความเสี่ยง 11 ราย
❖ ปี 2565 พบผู้มีความเสี่ยง 8 ราย
❖ ปี 2566 พบผู้มีความเสี่ยง 4 ราย

ข้อคิดที่ได้จากการทำงาน

❖ การทำงานเป็นทีม อสม. ร่วมกับภาคีเครือข่าย จะทำให้การทำงานมีพลัง
❖ การสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ในการทำงาน จะช่วยให้การทำงานประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย
❖ การพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ทำให้เรามีความสุขในการทำงาน
❖ การสร้างเครือข่าย จะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพ
❖ การมีส่วนร่วมของชุมชน จะทำให้ชุมชนเข้มแข็ง
❖ การสร้างสุขภาพจิตที่ดี เริ่มต้นที่ตัวเรา ครอบครัว ชุมชน

ปัญหาและอุปสรรค

  • การทํางานด้านสุขภาพจิตเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ต้องใช้ความระมัดระวังในการพูดคุยกับผู้ป่วย
  • บางครั้งผู้ป่วยไม่ยอมรับว่าตนเองมีปัญหาสุขภาพจิต ทำให้การช่วยเหลือเป็นไปได้ยาก
  • ผู้ป่วยบางรายมีอาการรุนแรง จำเป็นต้องได้รับการดูแลจากจิตแพทย์
  • การดูแลผู้ป่วยจิตเวชเป็นเวลานาน ทำให้ อสม. เกิดความเหนื่อยล้า ท้อแท้

แนวทางแก้ไข

  • ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพจิตแก่ อสม. อย่างต่อเนื่อง
  • จัดกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพจิตแก่ประชาชน
  • ส่งต่อผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงให้จิตแพทย์ดูแล
  • ดูแลสุขภาพจิตของ อสม. อย่างใกล้ชิด

ข้อเสนอแนะ

  • ควรมีการอบรม อสม. ด้านสุขภาพจิตอย่างต่อเนื่อง
  • ควรมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิตในชุมชน
  • ควรมีระบบการส่งต่อผู้ป่วยจิตเวชที่มีประสิทธิภาพ
  • ควรมีระบบการดูแลสุขภาพจิตของ อสม. อย่างเหมาะสม

นวัตกรรม ล่าสุด

ปฏิทินเตือนใจกินยาครบ
อสม.
อนงค์รักษ์
บุญส่ง
สาขาที่ประกวด
สาขาการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ

จังหวัด 

พังงา
อสม.ดีเด่นระดับ ชาติ
“ชุมชนน่าอยู่ คนสุขภาพดี ด้วยวิถีเทศบาล 3”
อสม.
นฤมล
สมหวัง
สาขาที่ประกวด
สาขาการส่งเสริมสุขภาพ

จังหวัด 

ยโสธร
อสม.ดีเด่นระดับ ภาค
หนองนาคำ โมเดล
นาง
บัวลำพอง
โสมะโสก
สาขาที่ประกวด
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน

จังหวัด 

ขอนแก่น
อสม.ดีเด่นระดับ เขต
กลุ่ม M HUG วัคซีนใจ
นาย
พรหมพร
พิมสอน
สาขาที่ประกวด
สาขาการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ในชุมชน

จังหวัด 

มหาสารคาม
อสม.ดีเด่นระดับ ภาค
การค้นหาผู้ป่วยยาเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน “คูหา ท้าใจ”
อสม.
วินิจ
คามะปะใน
สาขาที่ประกวด
สาขาการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน

จังหวัด 

อุดรธานี
อสม.ดีเด่นระดับ เขต