องค์ความรู้นวัตกรรม

ชื่อนวัตกรรม

การป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ในชุมชนวัดศรีบุญเรือง

ชื่อเจ้าของผลงาน

อสม.

คณาธิป

ภักดี

สาขาที่ประกวด

สาขาการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ในชุมชน

ประเภท

นวัตกรรมกระบวนการ (Process Innovation)

จังหวัด

เพชรบูรณ์

อสม.ดีเด่นระดับ

อสม.ดีเด่นระดับ ภาค

Loading

นวัตกรรมสุขภาพภาคประชาชน ประจำปี พ.ศ. 2567

นวัตกรรม สาขาการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน

  1. ชื่อนวัตกรรม: การป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ในชุมชนวัดศรีบุญเรือง
    • ประเภทนวัตกรรม (จำแนกตามเป้าหมาย): ☑ นวัตกรรมกระบวนการ (process innovation)
    • สาขาที่ประกวด: สาขาการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ในชุมชน
    • จังหวัด: เพชรบูรณ์
    • อสม. ดีเด่นระดับ: ☑ ภาค
  2. ข้อมูลส่วนตัวชื่อ: อสม. คณาธิป ภักดี
    • ที่อยู่: 119/3 ต.หล่มสัก อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ 67110
    • อาชีพ: ค้าขาย / รับจ้าง
    • ระดับการศึกษา: ปริญญาตรี เกียรตินิยม อันดับ 1
    • ระยะเวลาเป็น อสม.: 21 ปี
  3. ที่มาและความสำคัญของการสร้างนวัตกรรม อสม. คณาธิป ภักดี ได้นำชุมชนเข้าสู่กระบวนการหมู่บ้านจัดการสุขภาพ และทำแผนแก้ไขปัญหาโดยมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่าย ทั้งภายในชุมชนและนอกชุมชน ด้วยความต้องการของคนในชุมชนเอง โดยใช้การร่วมคิด ร่วมทำ โดยผ่านเวทีประชาคมของชุมชน วิเคราะห์ ค้นหาปัญหา สาเหตุ และวางแผน แก้ไขปัญหาร่วมกัน โดยการจัดทำแผนสุขภาพชุมชน บรรจุอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจ เทศบาลเมืองหล่มสัก รวมไปถึงการหาแนวร่วม ภาคีเครือข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมาร่วมทำแผนงานโครงการ ดำเนินงานตามแผน จัดหางบประมาณ ติดตามประเมินผล และมีการทบทวน ขยายผล แลกเปลี่ยนเรียนรู้

ปัญหาจากผลกระทบของโรคเอดส์ในชุมชน ในปี 2561 – 2566

  1. ครอบครัวและผู้ติดเชื้อ HIV ได้รับผลกระทบจากชุมชนและสังคม
  2. ครอบครัวผู้ติดเชื้อ HIV และผู้ติดเชื้อถูกตีตราจากสังคมและตีตราตัวเอง
  3. เยาวชนในกลุ่ม MSM/TG มีอัตราเสี่ยงในการติดเชื้อ HIV และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มากขึ้น
  4. เยาวชน นักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไป ขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  5. ไม่มีคนทำงานจิตอาสาด้านการรณรงค์ป้องกันแก้ไขปัญหาเอดส์เพิ่มขึ้น
  6. กลุ่ม LQBTQ+ ไม่กล้าตรวจเลือดและกลัวถูกตีตราจากคนแปลกหน้า

จุดประสงค์ของการดำเนินงาน

  1. เพื่อให้เยาวชน ประชาชน ตระหนักถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ส่งเสริมควบคุมโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคเอดส์
  2. เพื่อสร้างแกนนำหรือจิตอาสาทำงานรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ในกลุ่มเสี่ยง โดยเฉพาะกลุ่ม MSM/TG
  3. เพื่อสร้างภาคีเครือข่าย ประสานงานและขยายการทำงานกิจกรรมการป้องกันเอดส์ไปในแนวทางเดียวกันแบบบูรณาการ
  4. เพื่อให้ชีวิตคู่ของกลุ่ม MSM/TG เข้าถึงการตรวจเลือดและได้รับความรู้เรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคเอดส์
  5. เพื่อฟื้นฟูสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้ติดเชื้อ HIV ให้ปลอดภัยจากโรคฉวยโอกาส
  6. ผู้ติดเชื้อในกลุ่ม MSM/TG ไม่เสียชีวิตจากโรคฉวยโอกาส ภายใน 5 ปี
  7. ลดการตีตราในกลุ่ม MSM/TG และประชาชนทั่วไปในชุมชน
  8. ออกแบบสื่อรณรงค์การป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์แบบง่าย

กรอบแนวคิดของการทำงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ในชุมชน

ผลสำเร็จของการทำงานการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ในชุมชน

  1. มีการออกรณรงค์ให้ความรู้แก่ประชาชน ในกลุ่มเป้าหมายหลัก และทั่วไป เดือนละ 1 ครั้ง ตลอดเวลา 6 ปีที่ผ่านมา และ ออกสื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคเอดส์ เดือนละ 1–2 ครั้ง อย่างต่อเนื่องโดยมีคิวอาร์โค้ด (เอกสารภาคผนวก)
  2. มีสมาชิกชมรมกามเทพวีซีสมัครมาช่วยงานในชุมชน และช่วยกิจกรรม ของ อสม. ในการรณรงค์และปรับเปลี่ยนสุขภาพของกลุ่ม MSM/TG ด้วยความสมัครใจ เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนสามารถตั้งเป็นชมรม มีสมาชิกชมรม จำนวน 80 คน และมีสมาชิกกระจายอยู่อีกหลายจังหวัด เช่น เชียงใหม่ สุโขทัย พิษณุโลก กรุงเทพฯ ลำปาง อุตรดิตถ์ เป็นต้น
  3. สมาชิกกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ กลุ่ม MSM/TG ได้รับการตรวจเลือด สามารถเข้าถึงการบริหารแบบเป็นมิตรตามความต้องการตามหลักการทำงานของทีม อสม. คือ TRRTTR หรือ 3T3R ลดการตีตราสำเร็จ 3 คู่ ในเวลา 3 ปี และ 1 ครอบครัว และมีจิตอาสามาทำงานช่วย 3 ราย (กลุ่มผู้ติดเชื้อ)

นวัตกรรมสุขภาพภาคประชาชน ประจำปี พ.ศ. 2567

  1. ตลอดระยะเวลา 6 ปีที่ผ่านมา คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยหรือผู้ติดเชื้อ HIV ดีขึ้น สามารถมาใช้ชีวิตร่วมกับกลุ่มได้ลดการตีตราจากเพื่อนๆ สิ่งที่ภาคภูมิใจสูงสุดตลอดการทำงาน คือ “เรื่องเล่าจากเตาปิ้ง”
  2. สามารถช่วยให้ครอบครัวได้กลับมาอยู่ด้วยกันและสามารถเข้ารับการรักษา สร้างอาชีพ รับสิทธิประโยชน์ สำเร็จ 1 ครอบครัว
  3. สามารถสร้างสื่อ รณรงค์ใช้งานง่าย เข้าใจง่าย ในการออกบูธ
  4. สามารถติดต่อประสานงานออกรณรงค์ให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อทางเพศสำเร็จ ในสถานที่ติวเตอร์ หรือ สถานเรียนพิเศษ ในชุมชน 100% โดยใช้ตัวตลกเป็นขุนพลนำทัพ
  5. สามารถสร้างการมีส่วนร่วมของ 11 ชุมชน จัดมหกรรม อสม.รวมพลังพิชิตเอดส์ ตอนคุยเรื่องเพศให้เป็นเรื่องสนุกโดยการร่วมลงขัน จัดกิจกรรมสร้างการขยายผลสู่ความยั่งยืนของการทำงาน การป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ในชุมชน

ปัจจัยแห่งความสำเร็จเฉพาะตัวของ อสม. ในการทำงานด้านการป้องกัน และแก้ไขปัญหาเอดส์ในชุมชน

  1. อสม. เตรียมความพร้อมเสมอ ศึกษาหาความรู้โดย
    • เข้ารับการอบรม จากหน่วยงานภาครัฐ และกลุ่ม NGO ตลอดเวลาที่ได้รับโอกาส
    • การอ่านหนังสือ และสื่อเทคโนโลยีที่หน่วยงานต่าง ๆ สนับสนุนมาที่ทันสมัย และน่าสนใจ
    • การพูดคุยกับแพทย์ พยาบาล นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ และทีมงาน
  2. มีการสร้างแรงบันดาลใจของตัว อสม. เอง และรักในงานที่ทำ
  3. ได้รับแรงสนับสนุนจากครอบครัว เพื่อน และชุมชน
  4. มีเครือข่ายภาคีต่าง ๆ ที่ให้การสนับสนุน เช่น ฟ้าสีรุ้ง และ M Plus
  5. อสม. เป็นคนในชุมชน มีความรักในบ้านเกิด มีความมุ่งมั่นที่อยากเห็นชุมชนอยู่ดี กินดี สังคมดี
  6. ใช้คนให้ถูกกับงาน ซึ่งเป็นหัวใจหลักในการทำงานในชุมชน (Put the right man on the right job) และที่สำคัญของการทำงานทั้งหมด คือ “ศรัทธา”

เคล็ดลับความสำเร็จการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ในชุมชน

  • ทีมงาน และภาคีต่าง ๆ ที่ให้ความร่วมมือ
  • ความศรัทธาต่อทีม อสม. ของประชาชน
  • ใช้คนให้ตรงกับงาน
  • ประชาชนเห็นความสำคัญของสุขภาพตนเอง

นวัตกรรม ล่าสุด

บัดดี้ดูแลกัน คนบ้านด่านไม่ทิ้งกัน
อสม.
พรรณธิภา
บัวอ่อน
สาขาที่ประกวด
สาขาการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน

จังหวัด 

อุตรดิตถ์
อสม.ดีเด่นระดับ เขต
นาฬิกาปลุกกินยาและเตือนความจำ
อสม.
ชนินาถ
พิรุณศาสตร์
สาขาที่ประกวด
สาขาสุขภาพจิตชุมชน

จังหวัด 

พิษณุโลก
อสม.ดีเด่นระดับ เขต
น้ำยาย้อมสีฟัน
อสม.
รุ่งนะภาพร
นากัน
สาขาที่ประกวด
สาขาทันตสุขภาพ

จังหวัด 

อุตรดิตถ์
อสม.ดีเด่นระดับ ภาค
บัตรความรู้ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
อสม.
อำนวย
ชังเภา
สาขาที่ประกวด
สาขาการส่งเสริมสุขภาพ

จังหวัด 

พิษณุโลก
อสม.ดีเด่นระดับ ภาค
หมู่บ้านคู่ขนาน
อสม.
โสภา
ยุวนากุล
สาขาที่ประกวด
สาขาการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ

จังหวัด 

ตาก
อสม.ดีเด่นระดับ ภาค