องค์ความรู้นวัตกรรม

ชื่อนวัตกรรม

ที่วัดส่วนสูงแบบพกพา

ชื่อเจ้าของผลงาน

นาย

อาหามะ

สะนิ

สาขาที่ประกวด

สาขาการปฏิบัติงานในพื้นที่พิเศษชายแดนใต้

ประเภท

นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (Product Innovation)

จังหวัด

ปัตตานี

อสม.ดีเด่นระดับ

อสม.ดีเด่นระดับ ชาติ

Loading

ชื่อเจ้าของผลงาน : นายอาหามะ สะนิ
ประเภทนวัตกรรม :  นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (Product innovation)   
สาขาที่ประกวด : การจัดการสุขภาพชุมชนในพื้นที่พิเศษชายแดนใต้
จังหวัด : ปัตตานี
อสม.ดีเด่นระดับ   ชาติ

ที่มาและความสำคัญของการสร้างนวัตกรรม

             ตำบลตันหยงดาลอมีเด็กสูงดีสมส่วนร้อยละ 48.62 ไม่ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัดจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น ไม่มารับบริการวัคซีน ทำให้ไม่ได้ตรวจพัฒนาการ และประเมินโภชนาการจึงทำให้เกิดปัญหาในการเก็บข้อมูลโภชนาการ เครื่องมือที่วัดส่วนสูงในหมู่บ้านที่ อสม.ใช้ในการทำงานไม่ได้ใช้มาตราเดียวกัน ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนเมื่อนำข้อมูลมาประเมินภาวะโภชนาการของเด็ก ทำให้เด็กขาดโอกาสในการประเมินสุขภาพโดยรวมและส่งผลให้เด็กในพื้นที่มีปัญหาสุขภาพ เช่น วัคซีนไม่ครบมีภาวะทุพโภชนาการ พัฒนาการล่าช้า ฟันผุ และเด็กมีภาวะซีด เป็นต้น ดังนั้น อสม. จึงได้จัดทำนวัตกรรม
ที่วัดส่วนสูงแบบพกพา” เพื่อเป็นเครื่องมือในการทำงานที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ

วัตถุประสงค์

1. เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของ อสม. ในการใช้เครื่องมือนวัตกรรมที่วัดส่วนสูง

2. เพื่อส่งเสริมการใช้ที่วัดส่วนสูงให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาเด็กตามนโยบายจังหวัดปัตตานี “ดูแลเด็กปฐมวัยให้มีการเติบโตเต็มศักยภาพ พัฒนาการสมวัย มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และมี IQ ดีที่ 104 ภายในปี 2569”

ขั้นตอนการดำเนินงาน

1. เลือกวัสดุไม้ที่หาได้จากในพื้นที่

2. นำไม้ที่ได้มาแปรรูปเป็นแผ่นเรียบ จำนวน 2 ชั้น แผ่นแนวตั้งและแผ่นแนวนอน ประกอบเข้าด้วยกัน

3. ใช้สายวัดส่วนสูงติดลงบนแผ่นไม้แนวตั้ง

4. ติดสติ๊กเกอร์การ์ตูน เพื่อดึงดูดความสนใจของเด็ก

5. แบ่งพื้นที่ความรับผิดชอบของอสม.และให้อสม.สำรวจเด็กอายุ 0 – 5 ปี

6. ดำเนินการติดตามพัฒนาการเด็กโดยการวัดส่วนสูง ชั่งน้ำหนัก และประเมินผลอย่างต่อเนื่อง

ผลการดำเนินงาน/ประโยชน์ที่ได้รับ

1. เด็กปฐมวัยได้รับการดูแลพัฒนาการจาก อสม.ตามนโยบายของจังหวัดปัตตานี

2. อสม.ในชุมชนมีเครืองมือสนับสนุนการดำเนินงานในการดูแลติดตามพัฒนาการเด็ก

ปัจจัยความสำเร็จ

1. อสม.รู้จักประยุกต์ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่มาใช้ในการแก้ไขปัญหาพัฒนาการเด็กในชุมชน

2. อสม.และภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาไปด้วยกัน

3. มีจิตอาสาพัฒนางานสาธารณสุข

โอกาสในการพัฒนา

  1. การพัฒนาทักษะและความรู้ของ อสม. ในการให้คำแนะนำ ด้านการเสริมพัฒนาการเด็ก เช่น มหัศจรรย์ 1000 วัน การส่งเสริมโภชนาการของเด็ก ให้มีพัฒนาการสมวัย
  2. ขยายผลการใช้นวัตกรรมที่วัดส่วนสูงไปสู่ตำบลอื่นๆที่ใกล้เคียง และอาจจะขยายไปสู่ภาพรวมทั้งจังหวัด

ภาคผนวก

นวัตกรรม ล่าสุด

บัดดี้ดูแลกัน คนบ้านด่านไม่ทิ้งกัน
อสม.
พรรณธิภา
บัวอ่อน
สาขาที่ประกวด
สาขาการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน

จังหวัด 

อุตรดิตถ์
อสม.ดีเด่นระดับ เขต
นาฬิกาปลุกกินยาและเตือนความจำ
อสม.
ชนินาถ
พิรุณศาสตร์
สาขาที่ประกวด
สาขาสุขภาพจิตชุมชน

จังหวัด 

พิษณุโลก
อสม.ดีเด่นระดับ เขต
น้ำยาย้อมสีฟัน
อสม.
รุ่งนะภาพร
นากัน
สาขาที่ประกวด
สาขาทันตสุขภาพ

จังหวัด 

อุตรดิตถ์
อสม.ดีเด่นระดับ ภาค
บัตรความรู้ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
อสม.
อำนวย
ชังเภา
สาขาที่ประกวด
สาขาการส่งเสริมสุขภาพ

จังหวัด 

พิษณุโลก
อสม.ดีเด่นระดับ ภาค
หมู่บ้านคู่ขนาน
อสม.
โสภา
ยุวนากุล
สาขาที่ประกวด
สาขาการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ

จังหวัด 

ตาก
อสม.ดีเด่นระดับ ภาค