HEALTH CARE DIVISION
นวัตกรรม ชุมชนน่าอยู่ คนสุขภาพดี ด้วยวิถีเทศบาล 3
ชื่อนวัตกรรม : ชุมชนน่าอยู่ คนสุขภาพดี ด้วยวิถีเทศบาล 3
☐
ชื่อเจ้าของผลงาน : ประเภทนวัตกรรม : นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (Product innovation) นวัตกรรมการบริการ (Service innovation) ☑ นวัตกรรมกระบวนการ (Process innovation)
จังหวัด : ยโสรร
อสม. ดีเด่นระดับ
ที่มาและความสำคัญ
ชุมชนเทศบาล 3 ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดยโสรร เป็น ชุมชนเมืองมีผู้พักอาศัย 523 หลังคาเรือน มีประชากรทั้งหมด 1,641 คน แบ่งเป็น ชาย 727 คน หญิง 914 คน อาชีพส่วนใหญ่ ทำธุรกิจส่วนตัว ค้าขาย อาชีพรับจ้าง เนื่องจากมีบริษัทขายส่ง ห้างร้านต่าง ๆ ในเขตเมือง คนในชุมชนจึงมีอาชีพเป็นพนักงาน เป็นลูกจ้างในบริษัท และยังมีกลุ่ม อาชีพรับราชการ รัฐวิสาหกิจด้วย
จากการสำรวจและวิเคราะห์ปัญหาด้านสุขภาพที่ต้องได้รับการแก้ไข โดยด่วนคือ ด้านที่ 1 ปัญหาด้านสุขภาพ (โรคเรื้อรัง เบาหวาน ความดัน โลหิตสูง)และจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอายุยืนยาวขึ้น ด้านที่ 2 ปัญหาด้าน สิ่งแวดล้อม (ปัญหาขยะล้นชุมชนสิ่งแวดล้อมไม่สะอาด) ด้านที่ 3 ปัญหา ด้านอุบัติเหตุจราจร (ในชุมชนเรามีถนนรอบเมือง 4 เลนผ่าน เคยเกิด อุบัติเหตุหลายครั้ง)
นวัตกรรมสุขภาพภาคประชาชน ประจําปี 2568
ในการจัดการปัญหาที่มีผลต่อสุขภาพดังกล่าว อสม.นฤมล สมหวัง ร่วมกับผู้นำชุมชน ประชาชน และผู้เกี่ยวข้อง ดำเนินการจัดการปัญหาแต่ ละด้านประกอบด้วย คนต้นแบบด้านสุขภาพใช้หลัก 3อ. 2ส. 1น.คือ 3อ. : อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ 2ส. : ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา 1น.การนอน หลับพักผ่อน คนต้นแบบด้านสิ่งแวดล้อม ใช้หลัก 3ป.: ปลอดภัย ประหยัด ประโยชน์ และแนวคิดเกษตรอินทรีย์วิถี อสม. เพื่อให้คนในชุมชนมีสุขภาพ ดี มีสิ่งแวดล้อมที่ดี มีความสุข มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ภายใต้แนวคิดสะสม แต้มบุญเป็นทุนสู่สุภาพดี จัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อชุมชนเข้มแข็งและ ยั่งยืน
วัตถุประสงค์
- เพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพ ของคนในชุมชน
- เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการแก้ไขปัญหาสุขภาพ
- เพื่อให้คนในชุมชนมีสุขภาพดี เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
ขั้นตอนการดำเนินงาน
ประสานงานขอความร่วมมือกับคนในชุมชน กลุ่มองค์กร และภาคี เครือข่าย สำรวจและวิเคราะห์ประเด็นพฤติกรรมเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพ พบ ปัญหา 1. ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง มีจำนวนเพิ่มขึ้น 2. ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น รวบรวมข้อมูลที่ได้มาจัดทำแผนด้านสุขภาพ ผ่านการประชาคมหมู่บ้านให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการวางแผนจัดการปัญหา สุขภาพให้กับคนในชุมชน
นวัตกรรมสุขภาพภาคประชาชน ประจําปี 2568
— PAGE 4 —
STRY OF PUBLIC HEAL สนับสนุนบริการสุขภาพ
PRIMARY HEALTH CARE DIVIN
ปัญหาด้านสุขภาพ
เริ่มจากตนเองเป็นต้นแบบขยายสู่การสร้างสุขภาพให้กับคนใน ชุมชน ใช้หลัก 3อ. 2ส. 1น. (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ ไม่สูบบุหรี่ ไม่ ดื่มสุรา การนอนหลับพักผ่อน) เป็นผู้นำด้านการออกกำลังกายตลอดจน การสนับสนุนการออกกำลังกายให้กับคนในชุมชน เกิดการรวมกลุ่มกัน ออกกำลังกายจาก 1 ชมรมในปี 2563 เพิ่มเป็น 13 ชุมชน ในปี 2567 เพื่อส่งเสริมสุขภาพให้กับคนในชุมชน ทำให้กลุ่มเสี่ยงผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ลดลง ส่งเสริมสุขภาพจิต ค้นหาผู้ป่วยในระดับชุมชนเพื่อให้ได้รับการ แนะนำและการรักษาที่ถูกต้องลด ละ เลิก การสูบบุหรี่ ดื่มสุราหรือ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
หลังจากดำเนินกิจกรรมแล้วจะมีการประเมินผลการดำเนินงานแบบมี ส่วนร่วม
เพื่อให้ชุมชนเห็นความสำคัญและตระหนักถึงความจำเป็นที่ต้องการ ประเมินผลงานทำให้ค้นหาจุดอ่อนการดำเนินงานของชุมชนให้มี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยจัดตั้งทีมหรือคณะทำงานในการติดตาม ประเมินผล วางแผนออกแบบการติดตามและประเมินผล วางแผนแก้ไข ส่วนที่เป็นปัญหาและหาทางพัฒนาร่วมกันต่อไป
ผลการดำเนินงาน/ประโยชน์ที่ได้รับ
การดำเนินงานคนต้นแบบด้านสุขภาพ เมื่อเปรียบเทียบจากปี 2565- 2567 พบจำนวนกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังลดลงร้อยละ 10.91 กลุ่มเสี่ยง ไม่ มีผู้ป่วยโรคเรื้อรังเพิ่มขึ้น ดัชนีมวลกายของประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ที่ มีน้ำหนักเกิน น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์อ้วนและอ้วนมากมีจำนวนลดลงร้อยละ 62.14
ผลการคัดกรอง
ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ เนื่องจากมีผู้สูงอายุในชุมชนมีจำนวนเพิ่ม มากขึ้น ถ้าเราไม่ดูแลหรือส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุให้สามารถดูแลสุขภาพ ตนเองได้ จะทำให้เกิดปัญหาความเจ็บป่วยเกิดโรคในผู้สูงอายุ เช่น ภาวะ หลงลืม พลัดตกหกล้ม ซึมเศร้า นอนไม่หลับ วิตกกังวล หากผู้สูงอายุใน บ้านป่วย หรือไม่สบายเพียง 1 คน จะส่งผลกระทบกับทุกคนในครอบครัว ลูกหลานต้องหยุดงานมาดูแล เกิดความเครียดครอบครัว และที่สำคัญ เกิดภาระค่าใช้จ่ายด้านการรักษาขึ้น
และผู้สูงอายุยังเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ด้วย ต้องคัดกรองและเฝ้าระวังอย่างเข้มข้นต่อเนื่อง ผลของนวัตกรรม
ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ตระหนักถึงการดูแลสุขภาพทั้งกายและจิตใจ ตามหลัก 3อ.2ส.1น.พร้อมทั้งการดูแลตนเองและครอบครัว ทำให้ชุมชนมี สุขภาพแข็งแรงร่วมเดินไปด้วยกัน แล้วยังมีการคัดกรองโรคและการเฝ้า ระวังอย่างเข้มข้นต่อเนื่อง
นวัตกรรมสุขภาพภาคประชาชน ประจําปี 2568
ปัจจัยความสำเร็จ
- อสม.นฤมล สมหวัง เป็นต้นแบบด้านการจัดการสุขภาพ เริ่มจากตนเอง
ขยายสู่ชุมชน
- ภาคีเครือข่ายให้ความร่วมมือในการดำเนินงาน และให้การสนับสนุนด้าน งบประมาณ
- มีการกระตุ้นให้เกิดความความต่อเนื่องและยั่งยืนในชุมชน
โอกาสในการพัฒนา
พัฒนาต่อยอดการดำเนินงานจากชุมชนของตนเองขยายสู่ 23
ชุมชน ในเขตเทศบาลเมือง อำเภอเมือง จังหวัดยโสรร
นวัตกรรมสุขภาพภาคประชาชน ประจําปี 2568