ชื่อนวัตกรรม : “เช็คลิสต์ เช็ครัก เช็คโรค” ตรวจก่อนแต่งด้วยความสมัครใจ
ประเภทนวัตกรรม (จ าแนกตามเป้าหมาย)
นวัตกรรมกระบวนการ (process innovation)
สาขาที่ประกวด : สาขาการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ในชุมชน
จังหวัด : กระบี่
อสม.ดีเด่นระดับ ชาติ
ชื่อ : นางนงนุช ปวนละเอียด
ที่มาและความสำคัญของการสร้างนวัตกรรม
จากสถานการณ์ในต าบลอ่าวลึกน้อย อ าเภอ อ่าวลึก จังหวัดกระบี่ พบว่า มีผู้ติดเชื้อเอชไอวีในต าบลอ่าวลึก
น้อย ปี 2552 – 2553 จ านวน 10 ราย และในปี 2564 – 2566 จ านวน 9 ราย พบในปี 2564 เสียชีวิต
3 ราย เป็นเพศหญิง 2 ราย เพศชาย 1 ราย และ พบผู้ป่วยรายใหม่ชายรักชายเปิดเผยตัว 2 ราย ปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อ
เอชไอวีในต าบลอ่าวลึกน้อย จ านวน 9 ราย เพศหญิง 6 ราย เพศชาย 3 ราย ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง
นับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 100 พบปัญหาในพื้นที่หมู่ที่ 2 บ้านบากัน บุตรของผู้น าศาสนามีการแต่งงานตาม
ขนบธรรมเนียมและประเพณีของศาสนาอิสลาม โดยเรียกว่า “การนิก๊ะ” ถูกต้องตามหลักศาสนา ต่อมาฝ่ายหญิง
ตั้งครรภ์ จึงมีการตรวจเลือดครั้งแรกเมื่อไปฝากครรภ์ครั้งแรก พบผลติดเชื้อเอชไอวี สร้างการตีตราในหมู่บ้าน
และการอับอายให้กับครอบครัวของผู้ติดเชื้อเอชไอวี ประกอบกับประสบการณ์สูญเสียคนในครอบครัวด้านโรคเอดส์
ท าให้ “ก๊ะนุช” สนใจและทุ่มเทการท างานจิตอาสาด้านเอดส์อย่างต่อเนื่อง
เพื่อป้องกันการแพร่ของโรคเอดส์จากการมีเพศสัมพันธ์ ลดการตีตราในชุมชน โดยใช้กระบวนการ RRTTPR
ตามแนวปฏิบัติของกรมควบคุมโรค และเป้าหมายในการท างานตามหลัก 4 ม. (ไม่ติด ไม่ตาย ไม่ตีตรา
มีส่วนร่วม) ก๊ะนุชและคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาเรื่องเอดส์ต าบลอ่าวลึกน้อย จึงร่วมคิดค้นนวัตกรรม
“เช็คลิสต์ เช็ครัก เช็คโรค” มาใช้เพื่อช่วยคัดกรองและลดการแพร่เชื้อเอชไอวีจากการมีเพศสัมพันธ์ในพื้นที่ที่นับถือ
อิสลาม โดยได้มีการประชุมกับผู้น าศาสนาในชุมชน น าศาสนพิธีตามหลักศาสนาอิสลามมาปรับใช้ ให้ความรู้การ
ป้องกันโรคเอดส์โดยนำนวัตกรรม “เช็คลิสต์ เช็ครัก เช็คโรค” มาให้คู่รักที่แต่งงานที่ถูกต้องตามหลักศาสนามาใช้
ในการสอบถาม โดยให้มีการตรวจเลือดด้วยความสมัครใจก่อนแต่งงาน ซึ่งได้รับความร่วมมือจากผู้น าศาสนา
หลังน านวัตกรรมมาปรับใช้ควบคู่กับหลักศาสนาเดิมที่มีอยู่แล้ว ทำให้คู่สมรสมีความรู้ในการป้องกันการแพร่เชื้อ
เอชไอวี และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ต่าง ๆ เพิ่มขึ้น โดยมีคณะกรรมการป้องกันโรคเอดส์ในชุมชนติดตาม
และให้ความรู้แนวทางการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โรคเอดส์ต่อเนื่อง โดยนวัตกรรม “เช็คลิสต์ เช็ครัก
เช็คโรค” นี้ เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2563 ในหมู่ที่ 2 บ้านบากัน ซึ่งปัจจุบันได้น านวัตกรรมมาใช้ครอบคลุมทั้ง 6 หมู่บ้าน 9
มัสยิดทั้งตำบลอ่าวลึกน้อย
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้ความรู้ในการป้องกันโรคเอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และช่วยลดการตีตราในชุมชน
- เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อเอชไอวีจากการมีเพศสัมพันธ์“รู้เร็ว รักษาเร็ว ป้องกันได้”
ขั้นตอนการดำเนินงาน
ก๊ะนุชและคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาเรื่องเอดส์ต าบลอ่าวลึกน้อย ร่วมกันคิดค้นนวัตกรรม
“เช็คลิสต์ เช็ครัก เช็คโรค” มาใช้เพื่อช่วยคัดกรองและลดการแพร่เชื้อเอชไอวี จากการมีเพศสัมพันธ์ในพื้นที่ที่นับถือ
อิสลาม โดยใช้กระบวนการ RRTTPR (Reach–Recruit–Test–Treat–Prevention–Retain) บูรณาการร่วมกับ
หลักการ “การนิก๊ะ” การแต่งงานถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม เพื่อบรรลุเป้าหมายในการท างานตามหลัก 4 ม.
(ไม่ติด ไม่ตาย ไม่ตีตรา มีส่วนร่วม) ก๊ะนุชเริ่มขั้นตอนในการด าเนินงาน โดยการสร้างทีมภาคีเครือข่ายเพื่อมาร่วมทีม
กับคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาเรื่องเอดส์ต าบลอ่าวลึกน้อย และนัดหมายประชุมร่วมกันเพื่อวางแผน
ออกแบบนวัตกรรม และสร้างความเข้าใจในการน านวัตกรรมไปใช้ร่วมกับผู้น าศาสนา ผู้น าชุมชน และ อสม. แกนน า
โรคเอดส์ในชุมชน (กลุ่มปันรัก) เมื่อเกิดความเข้าใจแล้ว ก๊ะนุชและแกนน า อสม. ติดต่อประสานงาน เข้าไปให้ความรู้
แนะน าการใช้นวัตกรรม “เช็คลิสต์ เช็ครัก เช็คโรค” และให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคเอดส์และโรคติดต่อทาง
เพศสัมพันธ์ให้กับผู้น าศาสนาในชุมชน ซึ่งผู้น าศาสนาได้ให้ความร่วมมือ และเมื่อมีการแต่งงาน ผู้น าศาสนา
จะน านวัตกรรม “เช็คลิสต์ เช็ครัก เช็คโรค” ไปใช้ควบคู่กับการสอบถามในศาสนพิธีการแต่งงานตามหลักศาสนา
อิสลาม คือ “การนิก๊ะ” โดยในศาสนาอิสลามการแต่งงานในพิธีนิกะห์อันเป็นส่วนที่ส าคัญที่สุดจะสมบูรณ์ได้
ก็เมื่อประกอบด้วยเงื่อนไข 5 ประการเข้าด้วยกัน นั่นคือ
(1) ผู้ปกครองของฝ่ายหญิง (วาลี) : โดยจะต้องเป็นผู้ชายมุสลิมที่เป็นผู้ปกครองตามเชื้อสาย และเป็นผู้ที่ไม่
สามารถแต่งงานกับเจ้าสาวได้ เช่น พ่อ ปู่ พี่น้องชาย หรือญาติสนิท
(2) พยาน 2 คน (ซะซีย์): เป็นผู้ชายมุสลิม หูได้ยินและตาสามารถมองเห็นเพื่อเป็นพยานได้
(3) เจ้าบ่าว: เป็นผู้ชายมุสลิม ไม่อยู่ในระหว่างประกอบพิธีฮัจญ์
(4) เจ้าสาว: เป็นผู้หญิงมุสลิม ไม่อยู่ในระหว่างประกอบพิธีฮัจญ์
(5) คำเสนอของผู้ปกครองของฝ่ายหญิง (วาลี) และคำรับของเจ้าบ่าว ที่เรียกว่าอีญาบและกอบูล
ซึ่งนวัตกรรม “เช็คลิสต์ เช็ครัก เช็คโรค” ได้เพิ่มเงื่อนไขข้อที่ (6) การตรวจเลือดโดยสมัครใจก่อนแต่งงาน
เมื่อได้รับการยินยอมจากคู่บ่าวสาวแล้ว ก๊ะนุช และแกนน า อสม. จะเข้าไปนัดหมายให้บริการตรวจเลือด
โดยสมัครใจ (Voluntary Counseling and Testing -VCT) และให้ความรู้แนะน าการป้องกันโรคเอดส์ และแนวทาง
การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์แก่คู่บ่าวสาวพร้อมทั้งสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้นวัตกรรม และน ามาปรับ
ใช้ทุกหมู่บ้านในต าบลอ่าวลึกน้อย
ผลการดำเนินงาน/ประโยชน์ที่ได้รับ
ประเมินความพึงพอใจคู่สมรสที่สมัครใจจ านวน 28 คู่ ในเขตพื้นที่ต าบลอ่าวลึกน้อย ระหว่างเดือนตุลาคม
2563 – กรกฎาคม 2566 โดยมีผลการประเมินดังนี้ ส่วนใหญ่พึงพอใจนวัตกรรม เนื่องจากช่วยป้องกัน
การติดเชื้อเอดส์ในคู่สมรสที่ใช้นวัตกรรมก่อนแต่งงาน ร้อยละ 98.21 ท าให้มีความรู้การป้องกันโรคเอดส์เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 94.64 ความพึงพอใจในการใช้นวัตกรรม ร้อยละ 92.85 และความสะดวกในการใช้นวัตกรรม ร้อยละ
89.28 คู่สมรสที่สมัครใจใช้นวัตกรรม “เช็คลิสต์ เช็ครัก เช็คโรค ” จ านวน 34 คู่ ได้รับการแต่งงานตามศาสนพิธี
อิสลามทั้ง 34 คู่ สมัครใจตรวจเลือดก่อนแต่งงานได้รับการตรวจเลือดยืนยันผลโดยปลอดเชื้อเอชไอวีทั้งหมด
ซึ่งเป็นการช่วยป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีจากคู่สมรสหรือการมีเพศสัมพันธ์ในชุมชนอิสลามอีกทางหนึ่ง
ปัจจัยความสำเร็จ
- ชุมชนตระหนักถึงปัญหาร่วมกันวางแผนแก้ปัญหา ผู้น าชุมชน/ชุมชนร่วมกันแก้ปัญหาในระดับครอบครัวได้ดี
- ภาคีเครือข่าย ชุมชน โรงเรียน ผู้น าศาสนา เจ้าหน้าที่สาธารณสุขโรงพยาบาล องค์การบริการส่วนท้องถิ่น
ต าบลอ่าวลึกน้อย ผลักดันนโยบายไปสู่การแก้ไขปัญหาโรคเอดส์ในชุมชน
โอกาสพัฒนา
- ร่วมให้ความรู้การป้องกันโรคเอดส์ในกลุ่มนักเรียนโรงเรียนประกอบธรรมอิสลามโรงเรียนสอนศาสนาพื้นที่
ใกล้เคียง และน าเทคโนโลยีมาปรับใช้ ในการท างานร่วมกับกลุ่มเยาวชนเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าถึงการท างาน
ป้องกันโรคเอดส์ในโรงเรียนและชุมชน - ใช้นวัตกรรมเช็คลิสต์ เช็ครัก เช็คโรค ตรวจหาเชื้อเอชไอวีก่อนแต่งงานเพื่อช่วยป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี
จากการมีเพศสัมพันธ์ในชุมชนในตำบลใกล้เคียง - พัฒนาศักยภาพของแกนน าปันรัก และเพิ่มเครือข่ายในการปฏิบัติงานนอกพื้นที่จังหวัดใกล้เคียง
- ขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหน่วยงานอื่นเพิ่มขึ้น เพื่อใช้ในการด าเนินกิจกรรมการป้องกันโรคเอดส์
ในชุมชนผลักดันสู่การทำงานอย่างยั่งยืน