องค์ความรู้นวัตกรรม

ชื่อนวัตกรรม

นวัตกรรม “ชุมชนน่าอยู่ คนสุขภาพดี ด้วยวิถีเทศบาล 3”

ชื่อเจ้าของผลงาน

อสม.

นฤมล

สมหวัง

สาขาที่ประกวด

สาขาการส่งเสริมสุขภาพ

ประเภท

นวัตกรรมกระบวนการ (Process Innovation)

จังหวัด

ยโสธร

อสม.ดีเด่นระดับ

อสม.ดีเด่นระดับ ภาค

Loading

HEALTH CARE DIVISION

นวัตกรรม ชุมชนน่าอยู่ คนสุขภาพดี ด้วยวิถีเทศบาล 3

ชื่อนวัตกรรม : ชุมชนน่าอยู่ คนสุขภาพดี ด้วยวิถีเทศบาล 3

ชื่อเจ้าของผลงาน : ประเภทนวัตกรรม : นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (Product innovation) นวัตกรรมการบริการ (Service innovation) ☑ นวัตกรรมกระบวนการ (Process innovation)

จังหวัด : ยโสรร

อสม. ดีเด่นระดับ

ที่มาและความสำคัญ

ชุมชนเทศบาล 3 ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดยโสรร เป็น ชุมชนเมืองมีผู้พักอาศัย 523 หลังคาเรือน มีประชากรทั้งหมด 1,641 คน แบ่งเป็น ชาย 727 คน หญิง 914 คน อาชีพส่วนใหญ่ ทำธุรกิจส่วนตัว ค้าขาย อาชีพรับจ้าง เนื่องจากมีบริษัทขายส่ง ห้างร้านต่าง ๆ ในเขตเมือง คนในชุมชนจึงมีอาชีพเป็นพนักงาน เป็นลูกจ้างในบริษัท และยังมีกลุ่ม อาชีพรับราชการ รัฐวิสาหกิจด้วย

จากการสำรวจและวิเคราะห์ปัญหาด้านสุขภาพที่ต้องได้รับการแก้ไข โดยด่วนคือ ด้านที่ 1 ปัญหาด้านสุขภาพ (โรคเรื้อรัง เบาหวาน ความดัน โลหิตสูง)และจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอายุยืนยาวขึ้น ด้านที่ 2 ปัญหาด้าน สิ่งแวดล้อม (ปัญหาขยะล้นชุมชนสิ่งแวดล้อมไม่สะอาด) ด้านที่ 3 ปัญหา ด้านอุบัติเหตุจราจร (ในชุมชนเรามีถนนรอบเมือง 4 เลนผ่าน เคยเกิด อุบัติเหตุหลายครั้ง)

นวัตกรรมสุขภาพภาคประชาชน ประจําปี 2568

ในการจัดการปัญหาที่มีผลต่อสุขภาพดังกล่าว อสม.นฤมล สมหวัง ร่วมกับผู้นำชุมชน ประชาชน และผู้เกี่ยวข้อง ดำเนินการจัดการปัญหาแต่ ละด้านประกอบด้วย คนต้นแบบด้านสุขภาพใช้หลัก 3อ. 2ส. 1น.คือ 3อ. : อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ 2ส. : ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา 1น.การนอน หลับพักผ่อน คนต้นแบบด้านสิ่งแวดล้อม ใช้หลัก 3ป.: ปลอดภัย ประหยัด ประโยชน์ และแนวคิดเกษตรอินทรีย์วิถี อสม. เพื่อให้คนในชุมชนมีสุขภาพ ดี มีสิ่งแวดล้อมที่ดี มีความสุข มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ภายใต้แนวคิดสะสม แต้มบุญเป็นทุนสู่สุภาพดี จัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อชุมชนเข้มแข็งและ ยั่งยืน

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพ ของคนในชุมชน
  2. เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการแก้ไขปัญหาสุขภาพ
  3. เพื่อให้คนในชุมชนมีสุขภาพดี เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ขั้นตอนการดำเนินงาน

ประสานงานขอความร่วมมือกับคนในชุมชน กลุ่มองค์กร และภาคี เครือข่าย สำรวจและวิเคราะห์ประเด็นพฤติกรรมเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพ พบ ปัญหา 1. ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง มีจำนวนเพิ่มขึ้น 2. ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น รวบรวมข้อมูลที่ได้มาจัดทำแผนด้านสุขภาพ ผ่านการประชาคมหมู่บ้านให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการวางแผนจัดการปัญหา สุขภาพให้กับคนในชุมชน

นวัตกรรมสุขภาพภาคประชาชน ประจําปี 2568

— PAGE 4 —

STRY OF PUBLIC HEAL สนับสนุนบริการสุขภาพ

PRIMARY HEALTH CARE DIVIN

ปัญหาด้านสุขภาพ

เริ่มจากตนเองเป็นต้นแบบขยายสู่การสร้างสุขภาพให้กับคนใน ชุมชน ใช้หลัก 3อ. 2ส. 1น. (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ ไม่สูบบุหรี่ ไม่ ดื่มสุรา การนอนหลับพักผ่อน) เป็นผู้นำด้านการออกกำลังกายตลอดจน การสนับสนุนการออกกำลังกายให้กับคนในชุมชน เกิดการรวมกลุ่มกัน ออกกำลังกายจาก 1 ชมรมในปี 2563 เพิ่มเป็น 13 ชุมชน ในปี 2567 เพื่อส่งเสริมสุขภาพให้กับคนในชุมชน ทำให้กลุ่มเสี่ยงผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ลดลง ส่งเสริมสุขภาพจิต ค้นหาผู้ป่วยในระดับชุมชนเพื่อให้ได้รับการ แนะนำและการรักษาที่ถูกต้องลด ละ เลิก การสูบบุหรี่ ดื่มสุราหรือ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

หลังจากดำเนินกิจกรรมแล้วจะมีการประเมินผลการดำเนินงานแบบมี ส่วนร่วม

เพื่อให้ชุมชนเห็นความสำคัญและตระหนักถึงความจำเป็นที่ต้องการ ประเมินผลงานทำให้ค้นหาจุดอ่อนการดำเนินงานของชุมชนให้มี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยจัดตั้งทีมหรือคณะทำงานในการติดตาม ประเมินผล วางแผนออกแบบการติดตามและประเมินผล วางแผนแก้ไข ส่วนที่เป็นปัญหาและหาทางพัฒนาร่วมกันต่อไป

ผลการดำเนินงาน/ประโยชน์ที่ได้รับ

การดำเนินงานคนต้นแบบด้านสุขภาพ เมื่อเปรียบเทียบจากปี 2565- 2567 พบจำนวนกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังลดลงร้อยละ 10.91 กลุ่มเสี่ยง ไม่ มีผู้ป่วยโรคเรื้อรังเพิ่มขึ้น ดัชนีมวลกายของประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ที่ มีน้ำหนักเกิน น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์อ้วนและอ้วนมากมีจำนวนลดลงร้อยละ 62.14

ผลการคัดกรอง

ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ เนื่องจากมีผู้สูงอายุในชุมชนมีจำนวนเพิ่ม มากขึ้น ถ้าเราไม่ดูแลหรือส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุให้สามารถดูแลสุขภาพ ตนเองได้ จะทำให้เกิดปัญหาความเจ็บป่วยเกิดโรคในผู้สูงอายุ เช่น ภาวะ หลงลืม พลัดตกหกล้ม ซึมเศร้า นอนไม่หลับ วิตกกังวล หากผู้สูงอายุใน บ้านป่วย หรือไม่สบายเพียง 1 คน จะส่งผลกระทบกับทุกคนในครอบครัว ลูกหลานต้องหยุดงานมาดูแล เกิดความเครียดครอบครัว และที่สำคัญ เกิดภาระค่าใช้จ่ายด้านการรักษาขึ้น

และผู้สูงอายุยังเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ด้วย ต้องคัดกรองและเฝ้าระวังอย่างเข้มข้นต่อเนื่อง ผลของนวัตกรรม

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ตระหนักถึงการดูแลสุขภาพทั้งกายและจิตใจ ตามหลัก 3อ.2ส.1น.พร้อมทั้งการดูแลตนเองและครอบครัว ทำให้ชุมชนมี สุขภาพแข็งแรงร่วมเดินไปด้วยกัน แล้วยังมีการคัดกรองโรคและการเฝ้า ระวังอย่างเข้มข้นต่อเนื่อง

นวัตกรรมสุขภาพภาคประชาชน ประจําปี 2568

ปัจจัยความสำเร็จ

  1. อสม.นฤมล สมหวัง เป็นต้นแบบด้านการจัดการสุขภาพ เริ่มจากตนเอง

ขยายสู่ชุมชน

  1. ภาคีเครือข่ายให้ความร่วมมือในการดำเนินงาน และให้การสนับสนุนด้าน งบประมาณ
  2. มีการกระตุ้นให้เกิดความความต่อเนื่องและยั่งยืนในชุมชน

โอกาสในการพัฒนา

พัฒนาต่อยอดการดำเนินงานจากชุมชนของตนเองขยายสู่ 23

ชุมชน ในเขตเทศบาลเมือง อำเภอเมือง จังหวัดยโสรร

นวัตกรรมสุขภาพภาคประชาชน ประจําปี 2568

นวัตกรรม ล่าสุด

นวัตกรรม “ชุมชนน่าอยู่ คนสุขภาพดี ด้วยวิถีเทศบาล 3”
อสม.
นฤมล
สมหวัง
สาขาที่ประกวด
สาขาการส่งเสริมสุขภาพ

จังหวัด 

ยโสธร
อสม.ดีเด่นระดับ ภาค
ปฏิทินเตือนใจกินยาครบ
อสม.
อนงค์รักษ์
บุญส่ง
สาขาที่ประกวด
สาขาการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ

จังหวัด 

พังงา
อสม.ดีเด่นระดับ ชาติ
“ชุมชนน่าอยู่ คนสุขภาพดี ด้วยวิถีเทศบาล 3”
อสม.
นฤมล
สมหวัง
สาขาที่ประกวด
สาขาการส่งเสริมสุขภาพ

จังหวัด 

ยโสธร
อสม.ดีเด่นระดับ ภาค
หนองนาคำ โมเดล
นาง
บัวลำพอง
โสมะโสก
สาขาที่ประกวด
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน

จังหวัด 

ขอนแก่น
อสม.ดีเด่นระดับ เขต
กลุ่ม M HUG วัคซีนใจ
นาย
พรหมพร
พิมสอน
สาขาที่ประกวด
สาขาการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ในชุมชน

จังหวัด 

มหาสารคาม
อสม.ดีเด่นระดับ ภาค