อาสาสมัครสาธารณสุขดีเด่น จังหวัดนครราชสีมา
สาขา สุขภาพจิตชุมชน
นายพูน เมินกระโทก
บ้านหนองไผ่พัฒนา หมู่ 9 ตำบลท่าอ่าง อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา
รพ.สต.ท่าอ่าง
เกิดวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2494 อายุ 72 ปี
สถานภาพ สมรส มีบุตรธิดา 2 คน หลาน 3 คน
การศึกษา ป.ตรี ศึกษาศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ความรู้พิเศษ จบนักธรรมเอก
คติพจน์การทำงาน พูดจริง ทำจริง ทำให้ถูกดี ทำให้ถึงดี ทำให้พอดี
ประวัติส่วนตัว
- เป็น ผสส. และเป็น อสม. เมื่อ ปี พ.ศ. 2532 รวมทำงาน อสม. – ปัจจุบันเป็นเวลา 34 ปี
- เป็นคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน
- เป็นวิทยากรให้ความรู้คณะกรรมการคู่หูคู่คิด กขคจ.
- เป็นประธานเครือข่าย โคกหนองนา โมเดล อ.โชคชัย
บทบาทหน้าที่
ผ่านการอบรมหลักสูตร
- ปี 2562 อสม.หมอประจำบ้าน
- ปี 2563 ผู้นำต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต โคกหนองนา โมเดล
- ปี 2565 ผู้ดูแลผู้สูงอายุ
- ปี 2565 การขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิด ด้วยเศรษฐกิจ BCG
- ปี 2566 การดูแลผู้ป่วยระยะท้าย
- ปี 2566 การเฝ้าระวัง ป้องกัน แก้ปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช
คู่มือเฝ้าระวัง ป้องกัน แก้ไขปัญหา สุขภาพจิต –จิตเวช อสม.ได้รับแจก/ เป็นคู่มือในการทำงาน
การครองตน
- ใช้หลัก 3ร. (รู้จักดูแลสุขภาพตนเอง รู้กฎหมาย รู้ธรรม ) ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ ตรวจสุขภาพประจำปีเป็นแบบอย่างที่ดี
- ดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
- พัฒนาตนเอง ใส่ใจหาความรู้อยู่เสมอ
- มีความภาคภูมิใจในการเป็น อสม. และภรรยา เป็น อสม.
- สิ่งที่ภาคภูมิใจสูงสุด ได้รับคัดเลือกให้เป็นพ่อตัวอย่างแห่งชาติ พ.ศ. 2564 ภรรยา :แม่ดีเด่นจังหวัดนครราชสีมา ปี 2562
การครองคน
- ใช้หลักธรรม สังคหวัตถุ 4 (ทาน ,ปิยวาจา ,อัตถจริยา ,สมานัตตา)
- ทำงานเน้นเป็นทีมงาน อาศัยความร่วมมือจากภาคี เครือข่าย
- เป็นแกนนำ อสม จัดกิจกรรม ทำโครงการต่างๆ
- เป็นประชาสัมพันธ์ออกหอกระจายข่าว พิธีกรในงานต่างๆ ในชุมชน
- ให้บริการแก่ประชาชน ผู้มาติดต่องานด้วยความเป็นธรรม
- ให้ชุมชนมีส่วนร่วม ยอมรับและสนับสนุนในการทำงาน
- ด้านประชาธิปไตยไปใช้สิทธิเลือกตั้งทุกครั้ง
ได้รับความไว้วางใจจากผู้นำชุมชน ให้ทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ในหมู่บ้าน บ้านมีหอกระจายข่าว พิธีกรงานฌาปนกิจ (ไม่รับค่าตัว) พิธีกรงานบุญ ร่วมจัดรายการวิทยุเศรษฐกิจพอเพียง
ร่วมช่วยเหลือ แก้ไขปัญหาความยากจน สร้างบ้านที่อยู่อาศัย บริจาคครัวเรือนยากจน เพื่อให้มีที่อยู่อาศัย มีสุขภาพจิตที่ดี
การครองงาน
- ใช้หลักอิทธิบาท 4 (ฉันทะ ,วิริยะ ,จิตตะ ,วิมังสา)
- ร่วมจัดทำแผนสุขภาพชุมชน
- ได้ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้ชุมชน
- มีทักษะในการพัฒนาชุมชน
- ของบประมาณท้องถิ่นจัดทำโครงการ
แรงบันดาลใจในการทำงานสาขาสุขภาพจิตชุมชน
- ช่วงการเกิดโรคระบาด โควิด ในหมู่บ้าน มีผู้เสียชีวิต 1 ราย พบความเสี่ยงปัญหา ด้านสุขภาพจิต ( จิตแพทย์ห่วงช่วงโควิต 19 คนไทยฆ่าตัวตายพุ่ง เทียบเท่าวิกฤตต้มยำกุ้ง )
- ในเขต ต.ท่าอ่าง ปี 2566
- มีฆ่าตัวตายสำเร็จ ใน 2 ราย
- ผู้พยายามฆ่าตัวตาย 9 ราย
มีคนไทยพยายามฆ่าตัวตาย ชม.ละ 6 คน ทั้งปี มากกว่า 5,300 คน ในจำนวนนี้ เสียชีวิต 4,000 คน (ข้อมูลกรมสุขภาพจิต ปี2564 )
สาเหตุการฆ่าตัวตายในตำบลท่าอ่าง เป็นผู้สูงอายุไม่มีผู้ดูแล ครอบครัวไม่อบอุ่น ,พ่อแม่หย่าร้าง ปัญหาเศรษฐกิจ ป่วยเป็นโรคทางจิตเป็นโรคซึมเศร้า
ข้อมูลทั่วไป บ้านหนองไผ่พัฒนา หมู่ 9
ที่ตั้ง : ห่างจากอำเภอ 8 กม. ห่างตัวจังหวัด 30 กม. ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ค้าขายหินทราย จำนวน 192 หลังคาเรือน ประชากร ทั้งหมด 832 คน ชาย 394 คน หญิง 438 คน วัยเด็กอายุ 0-5 ปี 39 คน วัยเรียน 71 คน วัยรุ่น 74 คน วัยทำงาน 500 คน ผู้สูงอายุ 148 คน ผู้พิการ 6 คน ร้านค้า 6 ร้าน จำนวน อสม. 18 คน
ข้อมูลด้านสุขภาพ บ้านหนองไผ่พัฒนา
โรค จำนวน ความดันโลหิตสูง 39 คน โรคเบาหวาน 23 คน ผู้ป่วยติดเตียง 5 คน ผู้ป่วยจิตเวช 4 คน ผู้พิการ 6 คน หญิงตั้งครรภ์ 1 คน
อสม. ทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย ผู้ใหญ่ ผู้ช่วย/ส.อบต. /รพ.สต. /สสอ. / รพ.โชคชัย /สภ.อ. / หน่วยกู้ภัย
งานสุขภาพจิตชุมชน การคัดกรองโรคซึมเศร้าในชุมชน แบบคัดกรองโรคซึมเศร้า 2Q
จุดมุ่งหมายการทำงานสุขภาพจิตชุมชน
เพื่อป้องกันและช่วยเหลือให้ผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช ให้กลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ อย่างปกติ อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ลดจำนวนผู้ป่วยจิตเวชรายใหม่ได้ ลดปัญหากำรฆ่าตัวตายในกลุ่มวัยทำงาน ช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจำกเหตุการณ์รุนแรง ป้องกันและลดจำนวน ผู้ป่วยภาวะซึมเศร้า ส่งเสริมดูและสภาพจิตใจของผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้พิการ ผู้ป่วย ภาวะวิกฤตให้กลับมาเป็นปกติสุข
สำนวนไทย
คนโบราณให้ความสำคัญกับสุขภาพจิต จึงมีคำว่า คบที่อยู่ได้ คบใจอยู่ยาก ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว คนทุกข์ย่อมเศร้า คนเหงาย่อมเครียด … วงล้อเสริมสุข ช่วยท่านได้
ขอบคุณครับ
อสม.พูน เมินกระโทก
อาสาสมัครสาธารณสุขดีเด่น จังหวัดนครราชสีมา สาขาสุขภาพจิตชุมชน
ภาคผนวก
- ขั้นตอนการใช้วงล้อเสริมสุข เรียนรู้สู้เครียด
ภาพ ที่จับหมุน แบบคัดกรองโรคซึมเศร้า 2Q QR Code เช็คสภาพใจ วงล้อที่ 1 สัญญาณเตือนอันตรายทางสุขภาพจิต 5 ธงแดง
- ขั้นตอนการใช้วงล้อเสริมสุข เรียนรู้สู้เครียด
วงล้อที่ 2 9 วิธีแก้เครียดอย่างง่ายที่สุดในโลก ที่จับหมุน ภาพ”
สรุปผลการดำเนินงาน
❖ ปี 2564 พบผู้มีความเสี่ยง 11 ราย
❖ ปี 2565 พบผู้มีความเสี่ยง 8 ราย
❖ ปี 2566 พบผู้มีความเสี่ยง 4 ราย
ข้อคิดที่ได้จากการทำงาน
❖ การทำงานเป็นทีม อสม. ร่วมกับภาคีเครือข่าย จะทำให้การทำงานมีพลัง
❖ การสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ในการทำงาน จะช่วยให้การทำงานประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย
❖ การพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ทำให้เรามีความสุขในการทำงาน
❖ การสร้างเครือข่าย จะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพ
❖ การมีส่วนร่วมของชุมชน จะทำให้ชุมชนเข้มแข็ง
❖ การสร้างสุขภาพจิตที่ดี เริ่มต้นที่ตัวเรา ครอบครัว ชุมชน
ปัญหาและอุปสรรค
- การทํางานด้านสุขภาพจิตเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ต้องใช้ความระมัดระวังในการพูดคุยกับผู้ป่วย
- บางครั้งผู้ป่วยไม่ยอมรับว่าตนเองมีปัญหาสุขภาพจิต ทำให้การช่วยเหลือเป็นไปได้ยาก
- ผู้ป่วยบางรายมีอาการรุนแรง จำเป็นต้องได้รับการดูแลจากจิตแพทย์
- การดูแลผู้ป่วยจิตเวชเป็นเวลานาน ทำให้ อสม. เกิดความเหนื่อยล้า ท้อแท้
แนวทางแก้ไข
- ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพจิตแก่ อสม. อย่างต่อเนื่อง
- จัดกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพจิตแก่ประชาชน
- ส่งต่อผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงให้จิตแพทย์ดูแล
- ดูแลสุขภาพจิตของ อสม. อย่างใกล้ชิด
ข้อเสนอแนะ
- ควรมีการอบรม อสม. ด้านสุขภาพจิตอย่างต่อเนื่อง
- ควรมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิตในชุมชน
- ควรมีระบบการส่งต่อผู้ป่วยจิตเวชที่มีประสิทธิภาพ
- ควรมีระบบการดูแลสุขภาพจิตของ อสม. อย่างเหมาะสม