นวัตกรรมสุขภาพภาคประชาชน ประจำปี พ.ศ. 2567
นวัตกรรม สาขาการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน
- ชื่อนวัตกรรม: การป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ในชุมชนวัดศรีบุญเรือง
- ประเภทนวัตกรรม (จำแนกตามเป้าหมาย): ☑ นวัตกรรมกระบวนการ (process innovation)
- สาขาที่ประกวด: สาขาการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ในชุมชน
- จังหวัด: เพชรบูรณ์
- อสม. ดีเด่นระดับ: ☑ ภาค
- ข้อมูลส่วนตัวชื่อ: อสม. คณาธิป ภักดี
- ที่อยู่: 119/3 ต.หล่มสัก อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ 67110
- อาชีพ: ค้าขาย / รับจ้าง
- ระดับการศึกษา: ปริญญาตรี เกียรตินิยม อันดับ 1
- ระยะเวลาเป็น อสม.: 21 ปี
- ที่มาและความสำคัญของการสร้างนวัตกรรม อสม. คณาธิป ภักดี ได้นำชุมชนเข้าสู่กระบวนการหมู่บ้านจัดการสุขภาพ และทำแผนแก้ไขปัญหาโดยมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่าย ทั้งภายในชุมชนและนอกชุมชน ด้วยความต้องการของคนในชุมชนเอง โดยใช้การร่วมคิด ร่วมทำ โดยผ่านเวทีประชาคมของชุมชน วิเคราะห์ ค้นหาปัญหา สาเหตุ และวางแผน แก้ไขปัญหาร่วมกัน โดยการจัดทำแผนสุขภาพชุมชน บรรจุอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจ เทศบาลเมืองหล่มสัก รวมไปถึงการหาแนวร่วม ภาคีเครือข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมาร่วมทำแผนงานโครงการ ดำเนินงานตามแผน จัดหางบประมาณ ติดตามประเมินผล และมีการทบทวน ขยายผล แลกเปลี่ยนเรียนรู้
ปัญหาจากผลกระทบของโรคเอดส์ในชุมชน ในปี 2561 – 2566
- ครอบครัวและผู้ติดเชื้อ HIV ได้รับผลกระทบจากชุมชนและสังคม
- ครอบครัวผู้ติดเชื้อ HIV และผู้ติดเชื้อถูกตีตราจากสังคมและตีตราตัวเอง
- เยาวชนในกลุ่ม MSM/TG มีอัตราเสี่ยงในการติดเชื้อ HIV และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มากขึ้น
- เยาวชน นักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไป ขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- ไม่มีคนทำงานจิตอาสาด้านการรณรงค์ป้องกันแก้ไขปัญหาเอดส์เพิ่มขึ้น
- กลุ่ม LQBTQ+ ไม่กล้าตรวจเลือดและกลัวถูกตีตราจากคนแปลกหน้า
จุดประสงค์ของการดำเนินงาน
- เพื่อให้เยาวชน ประชาชน ตระหนักถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ส่งเสริมควบคุมโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคเอดส์
- เพื่อสร้างแกนนำหรือจิตอาสาทำงานรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ในกลุ่มเสี่ยง โดยเฉพาะกลุ่ม MSM/TG
- เพื่อสร้างภาคีเครือข่าย ประสานงานและขยายการทำงานกิจกรรมการป้องกันเอดส์ไปในแนวทางเดียวกันแบบบูรณาการ
- เพื่อให้ชีวิตคู่ของกลุ่ม MSM/TG เข้าถึงการตรวจเลือดและได้รับความรู้เรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคเอดส์
- เพื่อฟื้นฟูสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้ติดเชื้อ HIV ให้ปลอดภัยจากโรคฉวยโอกาส
- ผู้ติดเชื้อในกลุ่ม MSM/TG ไม่เสียชีวิตจากโรคฉวยโอกาส ภายใน 5 ปี
- ลดการตีตราในกลุ่ม MSM/TG และประชาชนทั่วไปในชุมชน
- ออกแบบสื่อรณรงค์การป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์แบบง่าย
กรอบแนวคิดของการทำงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ในชุมชน
ผลสำเร็จของการทำงานการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ในชุมชน
- มีการออกรณรงค์ให้ความรู้แก่ประชาชน ในกลุ่มเป้าหมายหลัก และทั่วไป เดือนละ 1 ครั้ง ตลอดเวลา 6 ปีที่ผ่านมา และ ออกสื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคเอดส์ เดือนละ 1–2 ครั้ง อย่างต่อเนื่องโดยมีคิวอาร์โค้ด (เอกสารภาคผนวก)
- มีสมาชิกชมรมกามเทพวีซีสมัครมาช่วยงานในชุมชน และช่วยกิจกรรม ของ อสม. ในการรณรงค์และปรับเปลี่ยนสุขภาพของกลุ่ม MSM/TG ด้วยความสมัครใจ เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนสามารถตั้งเป็นชมรม มีสมาชิกชมรม จำนวน 80 คน และมีสมาชิกกระจายอยู่อีกหลายจังหวัด เช่น เชียงใหม่ สุโขทัย พิษณุโลก กรุงเทพฯ ลำปาง อุตรดิตถ์ เป็นต้น
- สมาชิกกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ กลุ่ม MSM/TG ได้รับการตรวจเลือด สามารถเข้าถึงการบริหารแบบเป็นมิตรตามความต้องการตามหลักการทำงานของทีม อสม. คือ TRRTTR หรือ 3T3R ลดการตีตราสำเร็จ 3 คู่ ในเวลา 3 ปี และ 1 ครอบครัว และมีจิตอาสามาทำงานช่วย 3 ราย (กลุ่มผู้ติดเชื้อ)
นวัตกรรมสุขภาพภาคประชาชน ประจำปี พ.ศ. 2567
- ตลอดระยะเวลา 6 ปีที่ผ่านมา คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยหรือผู้ติดเชื้อ HIV ดีขึ้น สามารถมาใช้ชีวิตร่วมกับกลุ่มได้ลดการตีตราจากเพื่อนๆ สิ่งที่ภาคภูมิใจสูงสุดตลอดการทำงาน คือ “เรื่องเล่าจากเตาปิ้ง”
- สามารถช่วยให้ครอบครัวได้กลับมาอยู่ด้วยกันและสามารถเข้ารับการรักษา สร้างอาชีพ รับสิทธิประโยชน์ สำเร็จ 1 ครอบครัว
- สามารถสร้างสื่อ รณรงค์ใช้งานง่าย เข้าใจง่าย ในการออกบูธ
- สามารถติดต่อประสานงานออกรณรงค์ให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อทางเพศสำเร็จ ในสถานที่ติวเตอร์ หรือ สถานเรียนพิเศษ ในชุมชน 100% โดยใช้ตัวตลกเป็นขุนพลนำทัพ
- สามารถสร้างการมีส่วนร่วมของ 11 ชุมชน จัดมหกรรม อสม.รวมพลังพิชิตเอดส์ ตอนคุยเรื่องเพศให้เป็นเรื่องสนุกโดยการร่วมลงขัน จัดกิจกรรมสร้างการขยายผลสู่ความยั่งยืนของการทำงาน การป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ในชุมชน
ปัจจัยแห่งความสำเร็จเฉพาะตัวของ อสม. ในการทำงานด้านการป้องกัน และแก้ไขปัญหาเอดส์ในชุมชน
- อสม. เตรียมความพร้อมเสมอ ศึกษาหาความรู้โดย
- เข้ารับการอบรม จากหน่วยงานภาครัฐ และกลุ่ม NGO ตลอดเวลาที่ได้รับโอกาส
- การอ่านหนังสือ และสื่อเทคโนโลยีที่หน่วยงานต่าง ๆ สนับสนุนมาที่ทันสมัย และน่าสนใจ
- การพูดคุยกับแพทย์ พยาบาล นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ และทีมงาน
- มีการสร้างแรงบันดาลใจของตัว อสม. เอง และรักในงานที่ทำ
- ได้รับแรงสนับสนุนจากครอบครัว เพื่อน และชุมชน
- มีเครือข่ายภาคีต่าง ๆ ที่ให้การสนับสนุน เช่น ฟ้าสีรุ้ง และ M Plus
- อสม. เป็นคนในชุมชน มีความรักในบ้านเกิด มีความมุ่งมั่นที่อยากเห็นชุมชนอยู่ดี กินดี สังคมดี
- ใช้คนให้ถูกกับงาน ซึ่งเป็นหัวใจหลักในการทำงานในชุมชน (Put the right man on the right job) และที่สำคัญของการทำงานทั้งหมด คือ “ศรัทธา”
เคล็ดลับความสำเร็จการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ในชุมชน
- ทีมงาน และภาคีต่าง ๆ ที่ให้ความร่วมมือ
- ความศรัทธาต่อทีม อสม. ของประชาชน
- ใช้คนให้ตรงกับงาน
- ประชาชนเห็นความสำคัญของสุขภาพตนเอง